สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ
โครงสร้างของสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ
- หมวด: สถานีตรวจวัดอากาศ
- วันเผยแพร่
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 8158
ความหมายและรายละเอียดของอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ
Rain Collector Sensor ( ตัวตรวจจับปริมาณน้ำฝน )
ลักษณะ : ทำด้วยพลาสติกคุณภาพสูงไม่เป็นสนิมหรือถูกกัดกร่อน เป็นรูป
ทรงกระบอกตัดขอบบน มีรูสำหรับน้ำไหลลงตรงกลาง มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากขนาด 6นิ้ว เป็นชนิดคานกระดก
คุณสมบัติ : ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณนํ้าฝน มีความละเอียดในการวัด 0.2มิลลิเมตร
Hygro Sensor ( ตัวตรวจจับอากาศรวม )
ลักษณะ : โครงสร้างภายนอกเป็น Radiation Shield (เกราะป้องกันรังสี) มีไว้เพื่อ
ป้องกันเซ็นเซอร์ตรวจอากาศสัมพัทธ์โดยตรงกับแสงแดด รังสีความร้น น้ำฝน ลูกเห็บ หิมะ
ฯลฯ ทำด้วยพลาสติกเป็นแผ่นชั้น ๆ ไม่นำความร้อนจากภายนอก เข้าสู่เซ็นเซอร์ ป้องกันน้ำฝนและลมที่จะกระทบให้เซ็นเซอร์เสียหาย ส่วนโครงสร้างภายใน จะเป็นส่วนของตัวเซ็นเซอร์ที่ประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์(PCB) ซึ่งจะมีกรอบพลาสติกเจาะรูครอบปิดอีกชั้น เพื่อกัน แมลงปีกบินเข้าไปทำรังที่ตัวเซ็นเซอร์ บนแผ่นวงจรพิมพ์มีเซ็นเซอร์ 2
ชนิดต่ออยู่คือ SHT-15 และ BMP085/SCP1000 ดังนั้น จุดเชื่อมต่อจึงใช้ 2เส้น เข้ากับพอร์ตที่ 2 และ 3 บนบอร์ดดาต้าล๊อกเกอร์
คุณสมบัติ : เซ็นเซอร์ SHT-15 เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณภูมิอากาศ(Temperature)
และตรวจวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ(Humidity) เซ็นเซอร์ SCP1000/BMP085 เป็นตัวตรวจวัดความกดอากาศ(Barometric Pressure)
Solar Radiation Sensor ( ตัวตรวจจับพลังงานแสงอาทิตย์ )
ลักษณะ : ทำด้วยพลาสติกคุณภาพสูงไม่เป็นสนิมหรือถูกกัดกร่อน ตรงกลางเป็น พลาสติกสีขาวขุ่นทำหน้าที่กรองและลดแสงเข้าสู่ตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับภายใน มีลูกน้ำอยู่ด้านข้างเพื่อตั้งให้อยู่ในระดับตั้งฉากกับพื้นโลกเสมอ
คุณสมบัติ : ใช้วัดค่าพลังงานแสงอาทิตย์หน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร มักนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์พลังงานแสงแดดในแต่ละวันนำไปใช้งานเช่น เป็นข้อมูลเพื่อติดแผงโซล่าเซลล์ เป็นข้อมูลพระอาทิตย์ขึ้น หรือตกในพื้น ที่นั้น ๆ หรือเป็นข้อมูลเพื่อดูปริมาณเมฆในท้องฟ้าในตอนกลางวัน เป็นต้น
Anemometer Sensor ( ตัวตรวจจับลม )
ลักษณะ : ทำด้วยพลาสติกคุณภาพสูงไม่เป็นสนิมหรือถูกกัดกร่อนประกอบ ด้วย 2 ชิ้น ที่สำคัญคือ ส่วนบนจะคล้ายกับหางเครื่องบินทำหน้าที่หันไปตามทิศลมที่เข้ามา ส่วนล่างเป็นลูกถ้วยถ้ามีลมจะหมุนเพื่อวัดความเร็วลม
คุณสมบัติ : ใช้วัดค่าความเร็วลมและทิศทางลม
Soil Sensor ( ตัวตรวจจับดิน )
ลักษณะ : เป็นเซ็นเซอร์ที่ฝังไว้ในดิน ใช้วัดอุณภูมิและความชื้นในดิน ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม
คุณสมบัติ : ใช้วัดค่าอุณหภูมิในดิน และความชื้นในดิน
RS485 ( เครือข่ายสื่อสาร )
ลักษณะ : เป็นจุดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ โดยใช้การสื่อสารด้วยสายทองแดง 2เส้นแบบ RS485 เดินสายยาวได้ไกลถึง 4000ฟุต
คุณสมบัติ : ใช้การต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เสริม ในระบบ SCADA
Digital Camera ( กล้องถ่ายภาพนิ่ง )
ลักษณะ : คล้ายกับอุปกรณ์ CCTV แต่ตัวเซ็นเซอร์รับภาพนั้นต่างกัน โดยตัวนี้จะส่งข้อมูลออกมาในรูปสัญญาณดิจิตอลและบีบอัดภาพมาเป็น JPEG
คุณสมบัติ : ใช้สำหรับเก็บบันทึกภาพนิ่ง เพื่อใช้ดูสภาพพื้นที่นั้น ๆ ในช่วงเวลากลางวัน
Water Level ( ตรวจวัดระดับน้ำ )
ลักษณะ : เป็นอุปกรณ์ชนิดอุลตร้าโซนิควัดระยะทาง นำมาประยุกต์วัดระยะทางความสูงของเซ็นเซอร์กับผิวน้ำ แล้วนำไปคำนวณหาความสูงของน้ำ อีกครั้งจึงทำให้การวัดแบบไม่สัมผัส มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าชนิดอื่น
คุณสมบัติ : ใช้วัดระดับความสูงของน้ำ ตามแม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
TNC (Terminal Node Controler)
ลักษณะ : เป็นพอร์ตเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวก TNC ที่จะส่งข้อมูลผ่าน TNC ออกวิทยุรับส่งทั่วไป
คุณสมบัติ : ใช้เชื่อมต่อกับระบบวิทยุสื่อสารอื่น ๆ ผ่านโมเด็ม TNC เช่นนำไปใช้กับระบบ APRS ในเครือข่ายกิจการวิทยุสมัครเล่น ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็น IGATE หรือรายงานข้อมูลอากาศ WX ได้
Data Loger ( เครื่องควบคุมส่วนกลาง )
ลักษณะ : เป็นกล่องพลาสติกหุ้มด้วยโฟมและอลูมิเนียมฟรอยด์ ข้างในบรรจุแบตเตอร์รี่และแผงวงจรควบคุมดาต้าล๊อกเกอร์
คุณสมบัติ : เป็นตัวใจของระบบทั้งหมด ทำหน้าที่แปลงค่าสัญญาณจากตัวตรวจจับให้เป็นข้อมูล พร้อมทั้งจัดเก็บหรือส่งข้อมูลไปแสดงผล ตลอดไปถึงการจัดการพลังงานในตัวเองและระบบการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ
Solar Cell ( แผงเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ )
ลักษณะ : เป็นแบบโมโนคริสตอล หรือผลึกคริสตอล ขนาดใหญ่สีน้ำเงิน
คุณสมบัติ : ใช้แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำงานตลอดวัน และประจุไฟเข้าแบตเตอร์รี่เพื่อใช้ในยามกลางคืน