สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ

รีวิวชุด WIRELESS WEATHER STATION (LOW COST)

Review and Instation of Wireless Weather Station

        ชุดนี้เป็นเครื่องตรวจวัดอากาศในราคาประหยัดเหมาะสำหรับบ้านหรือสำนักงานที่ต้องการตรวจวัด แสดงผลสภาพอากาศทั้งภายในบ้าน/อาคารและภายนอกบ้าน/อาคาร แบบไร้สาย เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นด้วยสาย USB ในตัวเซ็นเซอร์ใช้แบตเตอร์รี่ขนาด AA 2ก้อน และตัวจอแสดงผลใช้อีก 2ก้อน รวมทั้งสิ้น 4ก้อน โดยที่ตัวแสดงผลนั้น ยังสามารถเก็บข้อมูลแบบดาต้าลีอกเกอร์ได้อีกด้วย

 

เริ่มจากหน้าตากล่องบรรจุภัณฑ์



 


เปิดกล่องออกมา เจอถาดใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ มาให้ครบครัน


 

 

นำชุดไฮโกรเซ็นเซอร์และตัวส่งสัญญาณมาแยกชิ้นส่วนให้ดู ต้องถอดตัวออกมาจากชั้นชิลล์


 

นำไฮโกรมาแกะดูข้างใน ตามแบบฉบับจีนละครับงานนี้ วัสดุอุปกรณ์สมกับราคาดังภาพ





นำชุดวัดลมมาประกอบเข้ากับแขนทั้งสองข้าง และเก็บสายหัววัดความเร็วลมเข้ากับหัววัดทิศทางลม จะเหลืออยู่เส้นเดียวรอนำไปต่อกับตัวส่ง


 

 

ใส่เสากลางเพิ่ม มีมาให้ในกล่องพร้อม ไม่ต้องไปหาที่ไหน


 

 

ประกอบแขนเข้าไปทั้งสองข้าง เอาไว้ติดไฮโกรและถังวัดน้ำฝน




 

ติดตั้งหัววัดน้ำฝนและไฮโกรเข้ากับแขน พร้อมเสียบสายเซ็นเซอร์ที่เขียนว่า Wind กับ Rain เท่านั้น


 


นำชั้นกันรังสีความร้อนมาครอบใส่ไฮโกรหรือตัวส่งสัญญาณ (อย่าลืมใส่แบตเตอร์รี่ก่อนนะครับ)


 

เสร็จแล้วจ้า.. การประกอบนั้นง่ายมาก มีอุปกรณ์มาในกล่องครบเลยทีเดียว แค่นี้ก็นำตัวเซ็นเซอร์ไปติดนอกบ้าน ส่วนตัวมอนิเตอร์ก็เอาไปตั้งในบ้าน ห่างกันได้ประมาณ 100เมตรในที่โล่ง จากที่ทดสอบไม่ค่อยมีผลกับกำแพงหรือต้นไม้มากนักเพราะใช้คลื่นอความถี่ย่าน UHF ส่งข้อมูล 


 


ทางด้านซอฟร์แวร์นั้น มีโปรแกรมมาให้สำหรับบนคอมพิวเตอร์หรือ PC สามารถใช้ตั้งค่าต่าง ๆ ดาวน์โหลดข้อมูลและแสดงผลได้ (หน้าตาไม่สวยนักแต่ก็พอใช้งานได้)


นอกจากจะใช้บนเครื่่องคอมพิวเตอร์แล้วอาจรู้สึกเหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน งั้นเราก็หาซอฟร์แวร์มาติดตั้งบนไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอย่างเช่น ราสเบอร์รี่พาย เป็นต้น ซึ่งทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์ แสดงผลออกจอมอนิเตอร์ผ่าน HDMI หรือสายวีดีโอหน้าจอทีวีได้ด้วย กินไฟต่ำ(ประมาณ 3W เท่านั้น) โปรแกรมแสดงผลและใช้งานมีหลายตัวเช่น wfrog,WeeWx,wview ฯลฯ ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างมาเป็น WVIEW นะครับ



    


จาการติดตั้งโปรแกรม WVIEW นั้น โดยในตัวโปรแกรมเอง จะแสดงผลออกทางเว็บไซต์ในตัวราสเบอร์รี่พายสร้างขึ้นเป็นเว็บเซอร์เวอร์เอง และยังสามารถส่งข้อมูลไปยังที่อื่น ๆ ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะทาง FTP,SSH,WebService,APRS เป็นต้น และสามารถบันทึกข้อมูลลงใน SQL ในตัวเครื่องเองได้ด้วย จึงเหมือนเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นดาต้าลีอกเกอร์และเซิร์ฟเวอร์บริการนั่นเองครับ

การตั้งค่านั้น สามารถตั้งค่าได้ทางคอมมานด์ไลน์หรือทางเว็บก็ได้ ในที่นี้ขอแสดงการตั้งค่าทางหน้าเว็บมาให้ชมกัน

 
 
 


หน้าจอแสดงผลข้อมูลในแบบต่าง ๆ


 
 

**ข้อควรระวัง  เนื่องจากเป็นสินค้าราคาถูกการผลิตจึงไม่ได้มาตรฐานตลอดถึงอายุการใช้งานไม่สูงนัก และข้อมูลการตรวจวัดไม่ควรนำไปอ้างอิงในงานวิจัย ภัยพิบัติต่าง ๆ และอื่น ๆ เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือของตัวข้อมูลอีกทั้ง ไม่ได้มาตรฐานตามอุตุโลก(WMO)


ขอจบเพียงเท่านี้...ท่านใดสนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ http://www.nakhonthai.net

Style Setting

Fonts

Layouts

Direction

Template Widths

px  %

px  %